News
ข่าวสารและกิจกรรม

12 เคล็ดไม่รับ วิธีฉาบปูนขั้นเทพ

วันที่อัพเดท 2020-11-09 13:48:12


ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งสำหรับการฉาบ ปูนซีเมนต์ ก็คือรอยแตกร้าว ผนังอิฐไม่เรียบสวยงาม ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการวางแผนเตรียมการที่ไม่ถูกต้อง หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น คุณภาพของวัตถุดิบ ส่วนผสมที่ใช้ บทความนี้จะมาแนะนำการเตรียมอุปกรณ์ และการฉาบผนังอิฐอย่างถูกวิธีกันจ้า

เตรียมอุปกรณ์สำหรับงานฉาบ ปูนซีเมนต์

  1. เกรียงสามเหลี่ยม แบบสั้นหรือยาว
  2. เกรียงเหล็ก เกรียงชัดมัน หรือเกรียงไม้
  3. ฟองน้ำ หรือแปรงสลัดน้ำ
  4. กระบะ หรือกระป๋องปูน

เทคนิคการฉาบปูนซีเมนต์ภายนอกอาคาร

  1. ตรวจสอบความสม่ำเสมอของผนังอิฐมวลเบา ว่ามีส่วนไหนขาดหรือเกิน หากพบให้รีบทำการแก้ไขก่อนลงมือฉาบปูนซีเมนต์ เพื่อความเรียบเสมอ และสวยงามของการฉาบ
  2. ควรติดตั้ง “เซี้ยม” บริเวณขอบช่องที่จะติดตั้งชิ้นส่วน ประตู หน้าต่าง ฯลฯ เพื่อให้การฉาบปูนซีเมนต์ สามารถทำได้สะดวกขึ้น
  3. ปูลวดตาข่ายเบอร์ ½ นิ้ว ขนาดประมาณ 25×25 เซนติเมตร บริเวณมุมเปิด ด้านล่าง และบนของช่องเปิด ทุกมุม รวมถึงส่วนที่มีการฝังท่อร้อยสายไฟใต้ผนังปูนด้วย เพื่อช่วยป้องกัน และลดปัญหาการเสื่อมสภาพของปูนฉาบในระยะยาว
  4. ทำการ “จับปุ่มปูน” ที่ผนังก่ออิฐมวลเบาที่จะทำการฉาบปูนซีเมนต์ เพื่อจะกำหนดความหนาของการฉาบ ระยะห่างของปุ่มปูนควรอยู่ระหว่าง 20 – 1.50 เมตร และปุ่มปูนด้านล่าง-ด้านข้าง ระยะห่างจากผนัง และพื้นด้านข้างประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร
  5. การฉาบผนังอิฐ ถ้าหากต้องฉาบ 2 ด้านที่ประกบกัน ไม่ควรฉาบพร้อมกัน ควรเว้นระยะฉาบคนละวันกัน เพราะหากทำวันเดียวกันจะเกิดความยากลำบากในการตบแต่งมุม และฉากของผนัง
  6. ส่วนที่มีการติดตั้งบล็อกเพื่อสวิสซ์ หรือปลั๊กไฟฟ้า ควรทำการตกแต่งโดยรอบ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และสวยงามของงาน

เทคนิคการฉาบ ปูนซีเมนต์ ภายในอาคาร

  1. ตรวจสอบความสม่ำเสมอของผนังอิฐมวลเบา ว่ามีส่วนไหนขาดหรือเกิน หากพบให้รีบทำการแก้ไขก่อนลงมือฉาบ เช่นเดียวกับการฉาบภายนอกอาคาร
  2. ทำการสลัดน้ำปูนบริเวณผิวคาน และเสาคอนกรีตก่อน 1 รอบ หลังจากนั้นให้ทำการปูนลวดตาข่ายเบอร์ 1/2 นิ้ว ขนาด 25×25 เซนติเมตร ที่ส่วนของรอยต่อของคาน และเสาคอนกรีตกับผนังอิฐมวลเบาก่อนจะทำการฉาบปูน เพื่อช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของปูนซีเมนต์ ในระยะยาว
  3. บริเวณสถานที่โดยรอบผนังบ้าน ควรทำการขุดดิน และเคลียร์เศษขยะออกให้หมดจนสามารถทำการฉาบปูนผิวคาน หรือโครงสร้างได้ถึงระดับดินจริง นอกจากนี้ควรติดตั้งอุปกรณ์นั่งร้านฉาบปูน เพื่อจะได้ไม่ต้องมาตามเก็บงานปูนของผนังด้านล่างในภายหลัง
  4. ผนังส่วนไหนมีขนาดใหญ่ และเรียบเสมอกัน ควรฉาบต่อเนื่องในทีเดียวจะดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการแบ่งพื้นที่ฉาบหลายครั้ง เพราะจะทำให้ผิวของผนังไม่เรียบเนียนสวบงาม
  5. ในส่วนบนสุดของงานฉาบผนัง (ส่วนที่ชนกับฝ้าเพดานภายนอก) ควรฉาบปูนซีเมนต์จนถึงท้องจันทัน
  6. ในการจับเซี้ยม ขอบความสูงของเซี้ยมปูนผนังภายนอก ควรต่ำกว่าด้านในประมาณ 5 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลย้อนเข้าตัวบ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องของความแข็งแรง ความเรียบเนียนสวยงาม รวมถึงการไม่แตกร้าวของผนัง เราต้องให้น้ำหนักไปที่วัตถุดิบที่ใช้เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะปูนฉาบ และการปฏิบัติตามขั้นตอนการก่อ และการฉาบด้วยความประณีต ไปจนถึงการบ่มผนัง

ตัวอย่างสาเหตุการแตกร้าวและวิธีการแก้ไข

ปัญหาในงานฉาบปูนซีเมนต์ที่พบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของการรอยแตกร้าว และรูปแบบของรอยร้าวสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุว่าเกิดขึ้นจากอะไรตามประเภทดังต่อไปนี้

รอยร้าวแตกลายงา

  • เกิดจากการปล่อยผนังที่เราทำการฉาบทิ้งไว้นานเกินไป เมื่อผนังได้รับความชื้นจะทำให้เกิดการหดตัวและแตกร้าวในช่วงต้น เพราะไม่สามารถปรับผิวที่เกิดการแตกเข้าสู่สภาพปกติได้
  • เกิดจากความรีบร้อนในการแต่งผิวปูนที่ฉาบไว้เร็วเกินไป เนื่องจากขณะที่ปูนฉาบแห้งจะก่อให้เกิดการหดตัวของปูนซีเมนต์มากขึ้น

วิธีการแก้ไข : หากตรวจสอบแล้วผนังไม่มีการหลุดล่อน สามารถใช้สี หรือยิปซั่มโป๊วให้ทั่วผิวปูน ก่อนทาสีจริง

รอยร้าวของผนัง ปูนซีเมนต์ ที่แตกเป็นชั้นๆ

  • เกิดจากการฉาบปูนซีเมนต์หนาเกินไป ทำให้ผิวปูนไม่สามารถรับน้ำหนักตัวเองได้
  • เกิดจากการผสมปูนซีเมนต์ที่เหลวมากเกินไป

วิธีการแก้ไข : หากตรวจสอบแล้วผนังไม่มีการหลุดล่อน สามารถใช้สี หรือยิปซั่มโป๊วให้ทั่วผิวปูน ก่อนทาสีจริง

รอยร้าวบริเวณวงกบของประตู และหน้าต่าง

  • เกิดจากการไม่ติดตั้งเซี้ยม หรือเสาเอ็นบริเวณมุมช่องที่ติดตั้งวงกบ
  • เกิดจากการยืด แบะหดตัวของวบกบประตู และหน้าต่าง

วิธีการแก้ไข : ถ้าไม่มีการเพิ่มขึ้นของรอยร้าว สามารถใช้สีโป๊วบริเวณที่แตกได้ แต่หากรอยร้าวมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องทำการปรึกษาวิศวกรผ หรือผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบโดยด่วน

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอในงานฉาบ ปูนซีเมนต์ อยู่บ่อยครั้ง นั่นก็คือ ผิวของผนังปูนมีเม็ดทรายเกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะใช้ฟองน้ำเปียกไปปั่นหน้าขณะตีน้ำ ทำให้น้ำปูนถูกล้างออกไปจนหมด คงเหลือแต่เมล็ดผิวหน้าหรือเกิดจากปั่นหน้าปูนนานเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยการล้างฝุ่นที่ผนังออกให้หมดแล้วใช้ ปูนสกิมโค้ทฉาบบางๆ เพื่อตกแต่งอีกครั้ง

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Use of undefined constant php - assumed 'php'

Filename: views/news-detail.php

Line Number: 237

Backtrace:

File: /home2/cp261785/public_html/thinkdobuild.com/application/views/news-detail.php
Line: 237
Function: _error_handler

File: /home2/cp261785/public_html/thinkdobuild.com/application/controllers/Home.php
Line: 53
Function: view

File: /home2/cp261785/public_html/thinkdobuild.com/index.php
Line: 315
Function: require_once